อยุธยา ท่องเที่ยว
วัมเหยงค์
 วัมเหยงค์

วัดมเหยงค์ สร้างในรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา เมื่อ พ.ศ. 1981 โดยสร้างเจดีย์ทรงระฆังอยู่บนฐานทักษิณ มีช้างล้อมเป็นประธานของวัดเจดีย์ช้างล้อมนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าคงเอาแบบอย่างมาจากพระเจดีย์ชัยของพระเจ้าทุษฐาคามินีมหาราชในลักกาทวีป ซึ่งทรงช้างชื่อกุลฑลทำสงครามได้ชัยชนะ ได้ครองราชสมบัติมีโอกาสทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักกาให้รุ่งเรืองยิ่งในสมัยพระองค์ เจดีย์ช้างล้อมในลักษณะคล้ายกันนี้เคยพบมาแล้วที่เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร ส่วนชื่อวัดมเหยงค์นั้นสันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามมหิยังคณะเจดีย์ในลักกาทวีป

ต่อมารัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการปฏิสังขรณ์วัดมเหยงค์ ครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2252 เสด็จทอดพระเนตรการปฏิสังขรณ์อยู่เนื่อง ๆ จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้นบนเกาะแห่งหนึ่งทางด้านทิศใต้นอกกำแพงวัดลักษณะเป็นอาคารตึก 2 ชั้น แบบเดียวกับวัดกุฎีดาว และตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ งานปฏิสังขรณ์ครั้งนี้พระอุโบสถเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ตรงตำแหน่งเดิม ซึ่งอาจจะเคยเป็นวิหารก็ได้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายปูนปั้นต่าง ๆ ที่พระอุโบสถแห่งนี้เป็นงานครั้งรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว

--------------------------------------------------

แนะนำที่พัก โรงแรมจังหวัดอยุธยา

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว
Woraburi Ayothaya
ราคา 1,450 - 2,200
 บาท
โรงแรมติดริมน้ำเจ้าพระยา
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว
U-thong Inn Hotel
1200-3300
บาท

โรงแรมขนาดใหญ่ 200 ห้องมี 2 อาคาร ห่างจาก กทม เพียง 30 นาที

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว
อยุธยา ธานี
950 - 1,050
บาท

โรงแรมขนาดใหญ่

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว
โรงแรมอโยธยา
1,100-3,500
บาท

โรงแรมใกล้ริมน้ำเจ้าพระยา, เดินทางสะดวก

--------------------------------------------------

Photos taken by กล้องดิจิตัล Alpha350

on  25 Jan 09

พระอุโบสถ

กำแพงข้างอุโบสถ

พระอุโบสถ

เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 17 เมตร ยาว 35.20 เมตร ตั้งอยู่บนฐานที่แอ่นโค้งเป็นรูปท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบของอาคารที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีพบว่า พระอุโบสถนี้สร้างทับซ้อน บนรากฐานอาคารเดินม ในสมัยอยุธยาตอนต้น

ฉนวน

เป็นทางเดินที่มีกำแพงตั้งอยู่ทั้งสองข้างทางเดิน เชื่อมระหว่างซุ้มประตูทางเข้าและพระอุโบสถ ลักษณะกำแพงเป็นกำแพงที่มีบัวประดับอยู่ด้านบนคล้ายกำแพงแก้วเป็นทางเดินสำหรับพระมหากษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูง ใช้เสด็จเข้าออก

เจดีย์ราย

เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีชุดบัวถลาและมาลัยเถารองรับองค์ระฆัง เหนือองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตรและปล้องไฉน ตามตำดับ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของเจดีย์ทรงระฆังที่นิยมสร้างกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่าเจดีย์องค์นี้สร้างพอกทับเจดีย์องค์เดิมอยู่

ข้อมูลเพิ่มเติม

อยุธยา
 
 
 
ท่องเที่ยว